คลินิกอาชีวเวชกรรม

ขอบเขตการให้บริการ

  • ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง ก่อนเข้าทำงาน ประจำปี ประเมินความพร้อมในการทำงาน ในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 18-60 ปี
  • ตรวจวินิจฉัยรักษาโรคจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม
  • ตรวจคัดกรองด้วยเครื่องมือทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ได้แก่ สมรรถภาพปอด สมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพการมองเห็น
  • ตรวจสุขภาพคนประจำเรือ 

1. ตรวจสุขภาพในโรงพยาบาล (Check up in hospital)

 

ขั้นตอนการดำเนินการตรวจสุขภาพ

 

 

การเตรียมตัวสำหรับการตรวจร่างกาย

การเตรียมตัวทั่วไปสำหรับการตรวจสุขภาพ                                

  1. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. หากมีอาการผิดปกติควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ

 เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray)

  1. กรุณาถอดสร้อยและเครื่องประดับ
  2. สตรีกรุณาเปลี่ยนชุดที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้
  3. สตรีตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจ

การตรวจระดับไขมันในเลือด (Total Cholesterol, Triglyceride)

  1. ควรงดอาหาร 12 ชั่วโมงก่อนตรวจหรืองดอาหารหลัง 20.00 น. ก่อนมาตรวจเลือดในตอนเช้า
  2. อนุญาตให้ดื่มน้ำได้
  3. ก่อนงดอาหาร ผู้รับการตรวจควรได้รับประทานอาหารชนิดปกติ

การตรวจน้ำตาลในเลือด

  1. ควรงดอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนตรวจหรืองดอาหารหลัง 24.00 น. ก่อนมาตรวจเลือดในตอนเช้า อนุญาตให้ดื่มน้ำได้
  2. ก่อนงดอาหาร ผู้รับการตรวจควรได้รับประทานอาหารชนิดปกติ

ข้อปฏิบัติในการเก็บปัสสาวะ  (Urine Analysis)

  1. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ แล้วซับให้แห้ง
  2. ปัสสาวะตอนต้นทิ้งไปเล็กน้อย แล้วใช้อุปกรณ์รองเก็บปัสสาวะตอนกลางประมาณ 3 ใน 4 ของกระปุกใส่ปัสสาวะ
  3. ปัสสาวะที่เก็บมาส่งไม่ควรเก็บนานเกิน 1 ชั่วโมงหลังปัสสาวะเนื่องจากอาจมีแบคทีเรียขึ้นได้

การเตรียมตัวตรวจอุจจาระ  (Stool examination)

  1. เนื่องจากผลการตรวจอุจจาระ อาจพบเลือดซึ่งปนเปื้อนมาจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ผู้เข้ารับการตรวจบริโภคเข้าไปได้  ดังนั้นหากต้องการตรวจแยกว่าเป็นเลือดที่ออกมาจากระบบทางเดินอาหารของผู้เข้ารับการตรวจ ควรงดรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีเลือดปนประมาณ 2 สัปดาห์
  1. อุจจาระที่เก็บตรวจ ควรเก็บเช้าวันที่ส่งตรวจ หากมีความจำเป็นต้องเก็บล่วงหน้าช่วงกลางคืนต้องเก็บอุจจาระในตู้เย็นช่องแช่ผักเพื่อป้องกันการเน่าเสีย

 การเตรียมตัวตรวจภายในและเซลล์มะเร็งปากมดลูก (Pap smear)

  1. ไม่มาตรวจในขณะมีประจำเดือน ตรวจหลังมีประจำเดือน 3 - 7 วัน
  2. เว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนรับการตรวจ 48 ชั่วโมง
  3. ไม่ล้างหรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดก่อนมาตรวจ 48 ชั่วโมง
  4. เว้นการเหน็บยาในช่องคลอดก่อนมาตรวจ 48 ชั่วโมง
  5. ภายใน 24 ชั่วโมงไม่มีการตรวจภายในมาก่อน

การเตรียมตัวอุจจาระเพาะเชื้อหาเชื้อบิด อหิวาตกโรค ไทฟอยด์  (Stool C/S )

  1. ทำความสะอาด บริเวณโดยรอบทวารหนักด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
  2. ใช้ไม้พันสำลีส่วนปลาย สอดผ่านทวารหนัก ลึกเข้าไป 1-1.5 นิ้ว หมุนเบาๆให้ไม้พันสำลีได้สัมผัสกับผนังของทวารหนักให้มากที่สุดให้ไม้พันสำลีมีเศษอุจจาระสีเหลืองติดออกมาด้วย
  1. นำไม้พันสำลีจุ่มลงในหลอดอาหารเพาะเชื้อ ปิดให้สนิท และเก็บไว้ในตู้เย็น

การเตรียมตัวก่อนเก็บปัสสาวะ ตรวจการสัมผัสสารเคมี

การตรวจหาสาร Mandelic acid plus phenylglyoxylic acid/ Methyl hippuric acid ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัส StyreneและXylene

  1. ควรงดการใช้ยากลุ่ม Salicylate ได้แก่ ยา Aspirin, ยาแก้ไข้ลดปวด
  2. กรณีที่ต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งให้รับประทานยาดังกล่าวอยู่เป็นประจำ กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนทุกครั้ง
  1. งดการรับประทานอาหาร/เครื่องดื่มที่ใช้ Sodium benzoate (benzoic acid) หรือสารกันบูด เช่นอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว
  2. การตรวจ hippuric acid ในปัสสาวะ ซึ่งเป็น biomarker ของ toluene ต้องงดอาหารรสเปรี้ยวและน้ำอัดลม 1 วัน ก่อนตรวจ
  3. งดการสัมผัสToluene, Xylene,Styrene, ethylbenzene จากแหล่งอื่น เช่น สี กาว น้ำมันเชื้อเพลิง

การตรวจหาสาร t,t-muconic acid ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัส Benzene

  1. ควรงดการใช้ยากลุ่ม Salicylate ได้แก่ ยา Aspirin, ยาแก้ไข้ลดปวด
  2. กรณีที่ต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งให้รับประทานยาดังกล่าวอยู่เป็นประจำ กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนทุกครั้ง
  1. งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกรดซอร์บิค หรือเกลือซอร์เบท ได้แก่ ขนมปัง เค้ก โดนัท เนยแข็ง น้ำผลไม้ต่างๆ ได้แก่น้ำมะตูม น้ำกระเจี๊ยบ
  2. งดการสูบบุหรี่ก่อนการตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง

การตรวจระดับ o-cresol ในปัสสาวะเพื่อประเมินการสัมผัส Toluene

         งดการสัมผัสกับตัวทำละลายอื่น เช่น Xylene หรือการดื่มสุรา เนื่องจากจะทำให้ลดประสิทธิภาพในการกำจัด Toluene ออกจากร่างกาย ทำให้ผลการสัมผัสไม่สะท้อนความเป็นจริง

**การเก็บตัวอย่างเก็บหลังเลิกกะ (end of shift) หมายถึงกำหนดเวลาในการเก็บตัวอย่างจากร่างกายเร็วที่สุดหลังหยุดสัมผัส (โดยทั่วไปไม่เกิน 30 นาที ภายหลังเลิกกะ)

 การตรวจหา Arsenic ในปัสสาวะ

  1. งดรับประทานอาหารทะเล และอาหารที่มีส่วนประกอบจากสัตว์ทะเล เช่น กะปิ, น้ำปลา เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ
  2. งดรับประทาน ยาแผนโบราณ เช่น ยาหม้อ, ยาลูกกลอน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ
  3. งดรับประทาน อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ            
  4. งดการใช้ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วันก่อนตรวจ                                                                

การตรวจหา Methanol ในปัสสาวะ
          Methanol อาจมีคนบางกลุ่มนำ methanol มาผลิตหรือผสมเป็นเหล้าเถื่อนขาย ดังนั้นก่อนตรวจร่างกายควรงดการดื่มเหล้าและพักผ่อนให้เพียงพอ

 

 

 

2. ตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำงาน (Occupational medicine clinic)

การเตรียมตัวก่อนมาวินิจฉัยโรคจากการทำงาน

1.ข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยที่ได้รับการรักษา (โรงพยาบาลอื่น)

2.ข้อมูลลักษณะงานที่สงสัยว่าทำให้เกิดโรคจากการทำงาน (ภาพถ่ายหรือวีดีโอ)

3.ข้อมูลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม

4.บริษัทเขียนใบส่งตัว กท.44

5.เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรือหัวหน้างาน มาพร้อมกับพนักงานด้วย

 

3.ตรวจทางด้านอาชีวเวชศาสตร์

 

การตรวจสมรรถภาพปอด (Lung function test หรือ Pulmonary function test) ตรวจเพื่อดูความสามารถในการทำหน้าที่ของปอด เช่น ดูว่าปริมาตรและความจุของปอดเป็นปกติดีหรือไม่ อากาศสามารถผ่านเข้าและออกจากปอดได้ดีเพียงใด ปอดมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีเพียงใด

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • สภาพร่างกายปกติ ในกรณีที่เคยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดหลอดลมอักเสบ ปอดบวม ต้องได้รับการรักษาหายมาแล้วอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และไม่อยู่ในระยะหลังการผ่าตัดใหม่ ๆ เช่น ผ่าตัดช่องอก ช่องท้อง เป็นต้น
  • ควรสวมใส่เสื่อผ้าที่สบาย ไม่รัดทรวงอกและท้อง
  • ห้ามออกกำลังกายอย่างหนักก่อนตรวจอย่างน้อย 30 นาที
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • หยุดสูบบุหรี่ก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจนอิ่มจัดก่อนตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • หยุดใช้ยาขยายหลอดลมก่อนตรวจ
  • ถ้าใส่ฟันปลอมชนิดที่ถอดได้ ต้องถอดออก

 

การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองและป้องกันโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงดัง (Noise-induced hearing loss; NIHL)

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • สภาพร่างกายปกติ ไม่เป็นไข้หวัดหรือหูอื้อ
  • หยุดรับฟังเสียงดัง ก่อนตรวจอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ในทางปฏิบัติมักจะทำการตรวจในวันจันทร์ที่เป็นวันแรกของสัปดาห์การทำงาน เพื่อให้พนักงานได้หยุดรับฟังเสียงดังในวันหยุดประจำสัปดาห์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังที่บ้าน
  • มาถึงห้องตรวจสมรรถภาพการได้ยินก่อนรับการตรวจอย่างน้อย 5 นาทีเพื่อป้องกันการหอบเหนื่อยขณะทำการตรวจ
  • ก่อนเข้าห้องตรวจให้ปิดโทรศัพท์มือถือ ถอดที่คาดผมตุ้มหูใหญ่ หรือแว่นตาออก (ถ้าสวมใส่อยู่)

 

การตรวจสมรรถภาพการมองเห็น (Vision test)เป็นการตรวจคัดกรองโรคหรือความผิดปกติที่เกี่ยวกับการมองเห็นให้กับคนทำงาน และใช้ในการพิจารณาว่าคนทำงานนั้นมีความพร้อมในการทำงาน (Fitness to work)หรือไม่

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • สภาพดวงตาไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น เช่น ตาเจ็บตาแดง เป็นต้น
  • สายตาเมื่อยล้าหรือพร่ามัวจากงานที่กำลังทำอยู่
  • ผู้ที่สวมแว่นตาให้นำแว่นมาด้วยเพื่อทำการตรวจสอบแว่นตาที่ใช้อยู่ว่ามีความเหมาะสมกับการทำงานหรือไม่

4.ตรวจสุขภาพคนประจำเรือ

Powered by OrdaSoft!